Click: The Coincidence
PhotoArt Magazine issue 12 by Chol Janepraphaphan
Amidst the contemporary excess of images and information, a coincidenceof consumerism, modernity and ideal ways of living can emerge.The multi-dimensions of ad images and messages from marketers – nomatter if the objective is profit, to create awareness or define the popular– led Chatchai Boonyaprapatsara to turn his back on the marketingindustry in which he worked for over ten years. These days he usesphotography to create narratives of alternative worldviews, to be seen in the cracks of our society.
Chatchai graduated from Bangkok Technical College and studied for an undergraduate degree at the Corcoran School of Arts in Washington DC. He then worked for leading advertising agencies for over a decade. Advertising, of course, influences how we think about the world; and these influences are, arguably, part of the magic of life, not just an illusion. The genre of street photography, from dynamic public spaces to sleepless cities, encouraged Chatchai to perceive a relationship between the life of the city and advertising imagery.
Such imagery is to be found almost everywhere, spreading in a disease-like manner. Urbanites are confronted with the spectacle of advertising from the moment we open our eyes in the morning to traveling home late at night. We may be unconsciously addicted to their familiarity. Chatchai’s photographs are aesthetically compelling, historically informed and, importantly, critical.
Many images from Chatchai’s current series, entitled Click: The Coincidence, have already been seen by many; but we typically delete images on our camera that do not possess a clear message. We do not understand that our split-second decision can reveal a new view of the world. In this series, people are solely actors in visual culture and thousands of photographs taken by Chatchai explore how their roles interact.
Chatchai’s works reveal a fragmented society, an explosion of many hitherto hidden and sometimes bizarre incidents. One photograph, An Old Man, overlays a human body with advertising imagery from Singapore. The ad imagery shows a young couple walking swiftly, on the right, and, on the left, we see an old man strolling slowly. At a glance, these two incidents seem apiece, one reality, but once we look closely we realize that they are from different places, times, and contexts. Thus, it is difficult to deny the pervasive influence of visual culture in terms of deceptive views of the world. Whether we accept it or not, we dwell in an image-saturated world. And we can learn a lot unconsciously.
The work Two Worlds shows a parallel coincidence with a couple standing in front of an ad image of an idealized loving couple. The contrast is striking as both couples belong to different worlds, and the photograph suggests that real life cannot be as fascinating as the worlds represented by advertising. Real life is too slow, plain and boring; or, simply, not vivid. Chatchai continues this pairing technique in Good Afternoon and Shaken Up, both taken in Vietnam. In the former, a blue collar guy rests comfortably in front of a huge ad for a golf course; in the latter, a blurry image of an Asian woman is depicted in front of an advertising image of a yelling Caucasian woman. This collision of the real and surreal asks us to question how we seek meaning between representation and reality. It is interesting to consider our own relationship to popular visual culture in this respect.
Chatchai’s photographs reveal usually invisible relationships between locations, ‘things’ and context. He captures some rhythms of how we move through space; captured in an instinctive way and essentially highlighting generational shifts and cultural worldviews. Time and space collides. Click: The Coincidence by Chatchai Boonyaprapatsara ran at Kathmandu Photo Gallery, Bangkok, from 3 March - 29 April 2012.
ท่ามกลางวัฒนธรรมของการเสพภาพและบริโภคข้อมูลอย่างล้นหลามในสังคม ในบางขณะเวลาชีวิตของเราก็พบปะกับเหตุการณ์ที่สอดคล้องต้องกันอย่างไม่น่าเชื่อ ระหว่างความบังเอิญของวัฒนธรรมการบริโภค ความเป็นสมัยใหม่ และการค้นหาวิถีชีวิตแบบอุดมคติ มิติการทับซ้อนเบื้องหลังภาพที่นักการตลาดและนักโฆษณาต่างระดมความคิดเพื่อส่งต่อภาพเหล่านี้เข้าสู่สังคม ไม่ว่าจะเพื่อการค้า เพื่อปลุกจิตสำนึก หรือเพื่อประดิษฐ์ค่านิยมหรือนิยามใหม่ๆ ไม่ว่าอะไรก็ตาม นี่คือสิ่งที่ทำให้ ฉัตรชัย บุณยะประภัศร ผู้ครํ่าหวอดอยู่ในวงการโฆษณามากว่าสิบปีหันหลังกลับมาและเพิ่มระยะห่างจากสิ่งที่เคยทำ เพื่อที่จะมองสิ่งเหล่านั้นในมุมที่ต่างออกไปจากที่เคยเห็นมา และเขาได้เลือกวิถีของการถ่ายภาพสำหรับการบอกเล่ารอยแยกเล็กๆ ที่กล้องถ่ายภาพของเขาสามารถสังเกตเห็นได้จากสังคมโดยบังเอิญ
ฉัตรชัย บุณยะประภัศร จบการศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ ก่อนจะเข้าศึกษาต่อที่ The Corcoran School of Arts, Washington, DC.จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และเข้าร่วมงานกับบริษัทโฆษณาชั้นนำมากว่า 14 ปี ฉัตรชัยนับได้ว่าเคยเป็นบุคลากรในสายอาชีพที่ใช้ ‘ภาพโฆษณา’ เพื่อดึงดูดสายตาสร้างผลกำไร ขับเคลื่อนระบบการค้า และสุนทรียศาสตร์ไปพร้อมๆ กัน ภาพที่นักโฆษณามือฉมังประดิษฐ์ขึ้นด้วยศาสตร์ต่างๆ จนกลายเป็นโลกอีกใบหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความคิดความอ่านของผู้คนในสังคม แม้เราต่างรู้ว่าสิ่งที่เห็นนั้นคือมายา ทว่าใครจะปฏิเสธได้ว่าสิ่งที่เราเห็น ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราจริงๆมากไปกว่าภาพถ่ายในแนวทาง Street Photography ที่ต้องการเน้นให้เห็นชีวิตตามท้องถนน การเคลื่อนไหวในพื้นที่สาธารณะ หรือชีวิตที่ไม่เคยหลับใหล ฉัตรชัยกลับมองเห็นความสัมพันธ์ร่วมกันในบริบทที่เราล้วนใช้ชีวิตอยู่คู่กับผืนภาพโฆษณา ราวกับการแพร่กระจายของโรคติดต่อ ภาพโฆษณากลายเป็นสิ่งที่ลุกลามไปทุกหนทุกแห่ง ทุกเวลา ตั้งแต่เราเริ่มลืมตาตื่นในตอนเช้ากระทั่งก่อนเข้านอน จนเราเสพติดภาพเหล่านั้นไปอย่างไม่รู้ตัว
ภาพถ่ายในนิยามของฉัตรชัยจึงเป็นสิ่งที่มากไปกว่าความงามในแบบที่นักถ่ายภาพจะนิยาม หรือความสมบูรณ์ในองค์ประกอบแบบก้าวข้ามไปทุกทฤษฎี ไม่ใช่เพียงการบันทึกประวัติศาสตร์ตามเหตุการณ์ แต่หน้าที่ของกล้องถ่ายภาพกลับสามารถวิพากษ์เหตุการณ์ต่างๆ อย่างเสรี ตามแต่ทัศนคติของผู้ถ่ายจะเล็งเห็นภาพถ่ายในชุด Click : The Coincidence อาจเคยเป็นภาพที่มีอยู่ในประสบการณ์การถ่ายภาพของหลายคน เพียงแต่เราอาจจะคัดออก หรือลบมันทิ้งไปจากกล้องถ่ายภาพ เพราะมองไม่เห็นสัญญาณที่เล็ดลอดออกมาจากภาพ การตัดสินใจเพียงชั่วเสี้ยววินาทีเท่านั้นที่จะทำให้โลกในอีกมิติหนึ่งเปิดออกให้เห็น ภาพโฆษณาที่เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ อย่างล้นหลามได้บรรจุข้อมูลข่าวสาร (Message) และความหมายที่หลายหลากมาพร้อมกัน จนในบางเวลามนุษย์เราก็ดูเหมือนจะเป็นเพียงตัวละครที่เล่นไปตามบทของภาพโฆษณาท่ามกลางกระแสความคิดเรื่อง ‘วัฒนธรรมทางสายตา’ (Visual Culture) ที่ขับเน้นให้เห็นโลกที่เราใช้ประสาทสัมผัสทางการเห็นเพื่อที่จะนำทางไปในทุกๆ ที่เข้าใจในทุกๆ เรื่องผ่านภาพ และนี่คือสิ่งที่ทำให้เห็น ‘การสอดคล้องต้องกัน’
ในผลงานของฉัตรชัย จากภาพนับร้อยนับพันที่เขาได้บันทึก และสุดท้ายจะมีเพียงไม่กี่ภาพเท่านั้นที่จะสามารถแสดงให้เห็นถึง ‘บทบาท’ ที่ตอบโต้กันระหว่างผู้คนและภาพในวัฒนธรรมทางสายตาได้ชุดภาพถ่ายของฉัตรชัยไม่ต่างไปจากการกระจัดกระจายของข้อมูลในสังคมเหตุการณ์พิสดารที่จัดวางซ่อนในทุกๆ แห่งหน ราวกับปรากฏการณ์ของการระเบิดออกทางวัฒนธรรมภาพ หนึ่งในผลงานหลายชิ้นของฉัตรชัยแสดงการทับซ้อนร่างกายเข้ากับภาพโฆษณาทางด้านหลัง
อย่างในภาพชื่อ ‘an oldman’ ที่ถ่ายในสิงคโปร์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2011 การผนึกรวมกันของภาพโฆษณาที่มีคนหนุ่มสาวเดินอย่างกระฉับกระเฉงไปทางด้านซ้ายของภาพกับชายสูงวัยกำลังเดินสวนทางไปในด้านขวาด้วยอาการอ่อนแรง ซึ่งการมองอย่างเผินๆ จะเห็นว่าทั้งสองเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องเดียวกัน ในขณะที่ความเป็นจริงผู้ชมสามารถทราบในภายหลังว่าชายสูงวัยกับภาพด้านหลังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน ต่างสถานที่ ต่างวาระ ต่างแม้กระทั่งกายภาพ เป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธว่าการ ‘อยู่ภายใต้อำนาจของภาพ’ ได้กลายเป็นเรื่องธรรมชาติของการใช้ชีวิตร่วมกับสื่อมานานแล้ว
โดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม เราต่างอาศัย (dwelling) อยู่ในโลกที่การมองเห็นภาพได้สร้างความเข้าใจใหม่ๆ เกี่ยวกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมทางการเห็นที่เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เราเรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างจากภาพโฆษณาเหล่านี้โดยไม่ทันสังเกต อย่างในภาพ ‘two worlds’ ที่ถ่ายในปี 2010 ความบังเอิญที่ราวกับโลกคู่ขนานมาบรรจบกัน เมื่อคู่รักในภาพโฆษณาสินค้าแสดงให้เห็นความรักในโลกอุดมคติ แต่ราวกับตลกร้ายที่จังหวะภาพ และองค์ประกอบต่างๆกลับทำให้ชาย – หญิงที่ยืนอยู่ตรงหน้าภาพโฆษณาดูต่างออกไป ราวกับคนละชาติภพของคู่รักในภาพ เมื่อชีวิตจริงกลับไม่ได้เป็นไปอย่างโฆษณาว่าเอาไว้ความน่าหลงใหลในภาพก็กลับทำให้โลกความเป็นจริงดูน่าเบื่อ จืดชืด เชื่องช้าและไร้สาระไปอย่างถนัดตาเมื่อเทียบกับความมีชีวิตชีวาที่ไม่มีวันเป็นจริงการจับคู่เช่นนี้ คล้ายคลึงกับภาพ ‘good afternoon’ และ ‘shaken up’ ที่ถ่ายในเวียดนามเมื่อปี 2009 ฉัตรชัยถ่ายภาพคนชั้นล่างกำลังนอนพักผ่อนอย่างสบายใจ หน้าภาพสนามกอล์ฟขนาดใหญ่ และหญิงสาวเวียดนามในลกั ษณะที่เบลอจากการสั่นไหวต่อหนาภาพโฆษณาที่มีใบหน้าสาวชาวตะวันตกกำลังตะโกนสุดกำลัง ซึ่งในบางเวลาเราอาจจะเห็นจุดบรรจบของโลกเสมือนจริงกับโลกความเป็นจริงได้ แม้สิ่งที่เห็นจะไม่ได้ตรงไปตรงมานัก
แต่ฉัตรชัยกลับทำให้การภาพถ่ายทำหน้าที่ของการเป็นภาพสัญญะทางสังคมในตัวเองเป็นการบรรจบพบพานที่เปิดความหมายได้อย่างน่าขบคิด ในฐานะที่เราต่างก็เป็นตัวละคร และในบางเวลาเราอาจกำลังเล่นบทบาทของใครสักคนอยู่นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายอีกมากมายที่ฉัตรชัย บุณยะประภัศร นำเสนอถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน สินค้า ภาพโฆษณา ฯลฯ สัญชาตญาณที่มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่าง ‘สถานที่’ (Location) กับสิ่งอื่นๆ ในบริบทเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจเรื่อง ‘พื้นที่’ (Space) ซึ่งกระบวนการมองเห็นนี้ได้สะท้อนท่วงทำนองของยุคสมัย และทำให้ภาพถ่ายของเขายังคงไว้ซึ่งมุมมองทาง ‘วัฒนธรรม’ ที่แหลมคม เพราะท่ามกลางฝูงชนที่ช่วยกันขับเคลื่อนสังคมให้ดำเนินไปแบบไม่มีจุดสิ้นสุด เราจะไม่มีวันรู้เลยว่า เมื่อใดที่เวลาของการสอดคล้องต้องกัน (Coincidence) นั้นจะมาบรรจบกันอีกครั้ง
www.kathmandu-bkk.com
|