พัฒนามุมมองและเข้าใจการถ่ายภาพให้มากขึ้นด้วย Contact sheet
การเป็นช่างภาพที่ดีนั้น นอกจากต้องมีความรู้ทางเทคนิคและอุปกรณ์ที่ดีแล้ว มุมมองของช่างภาพและทักษะหน้างานนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหยอนไม่กว่ากันเลย สำหรับการพัฒนามุมมองนั้นสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการศึกษางานภาพถ่าย หรือภาพเขียนจากช่างภาพหรือศิลปินที่เราสนใจ(หรืออาจจะไม่สนใจ) ในส่วนทักษะหน้างานนั้น เราอาจศึกษาได้จากการร่วม workshop หรือ photo walk กับช่างภาพมืออาชีพซึ่งในบ้างครั้งอาจมีราคาค่าสมัครที่ค่อนข้างแพงในกรณีของชาวภาพต่างประเทศ อีกวิธีหนึ่งที่เราสามารถศึกษาวิธีการทำงานของช่างภาพดังๆได้ ก็คือ การดู contact sheet หรือ contact print (ภาพปรินท์ของฟิล์มทั้งม้วนในกระดาษแผ่นเดียว) ซึ่งนอกจากจะได้รู้ถึงมุมมองของช่างภาพ และลำดับเหตุการณ์ในการได้มาซึ่งภาพมาสเตอร์พีชแล้ว มันยังบอกเราถึงสาเหตุของการเลือกภาพนั้นๆ
contact sheet ของภาพ Child with Toy Hand Grenade in Central Park, New York City, USA (1962) © Estate of Diane Arbus ภาพจาก Eric Kim's Blog
ภาพ Child with Toy Hand Grenade in Central Park, New York City, USA (1962) © Estate of Diane Arbus ภาพจาก Eric Kim's Blog
จากการที่ได้มีโอกาสได้ดูหนังสือและคอนแทคชีทตามอินเตอร์เนตมาบ้าง สิ่งหนึ่งทีเห็นได้ในการทำงานของช่างภาพส่วนใหญ่คือ ภาพเจ๋งๆที่เราเห็นส่วนใหญ่ มักไม่ได้เกิดจากการถ่ายเพียงช๊อตเดียว แต่มักเป็นหนึ่งในภาพชุดที่เก็บพัฒนาการของเหตุการณ์ที่ช่างภาพสนใจ (แต่ภาพที่ไม่ได้ถูกเลือกของช่างภาพเจ๊งๆ ก็ไม่เรียกว่าภาพที่แย่นะครับ ภาพส่วนใหญ่เข้าขั้นดี แต่อาจจะไม่ดีเท่าภาพที่ถูกเลือก แต่แน่นอนบางครั้งก็มีภาพแย่ๆ ที่บ้างครั้งตัวช่างภาพเจ๋งๆเองก็รู้สึกเซ็ง ซึ่งในส่วนนี้ก็อาจจะเอามาเป็นกำลังในเวลาที่เราถ่ายภาพมาแล้วหาภาพดีๆไม่ได้เลย) และมีหลายครั้งที่ภาพที่น่าสนใจเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆของเหตการณ์ปกติธรรมดาทั่วไป การที่จะได้มาซึ่งภาพพิเศษเหล่านี้ บ้างครั้งอาจต้องอาศัยสัญชาตญาณ ประสบการณ์และดวงของช่างภาพเป็นอย่างมาก
แม้ว่าหนังสือรวมภาพ contact sheet จะมีไม่มากนักเพราะบางครั้งช่างภาพก็อยากแสดงเพียงภาพที่ดีที่สุดของเขา แต่เราก็สามารถศึกษา Contact sheet ได้ ตามอินเตอร์เนตทั้งในรูปแบบของไฟล์ภาพและคลิปวีดิโอตามยูทูป ดังเช่นข้างล่างนี้เลยครับ
และถ้าใครมีโอกาสลองหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านดูนะครับ
ในการได้มาซึ่งสิ่งพิเศษ บางทีก็ต้องรอคอย แต่คงไม่ใช่การรอคอยด้วยความนิ่งเฉย เพราะบางทีการไม่หยุดนิ่งอาจทำให้เราอะไรที่พิเศษกว่าสิ่งรอคอยก็เป็นได้
ผู้เขียน : ศราวุธ แต้โอสถ
จาก http://snapcamera.exteen.com
|